เรื่องควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายการป้องกันอัคคีภัย

1 Views

  ศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567

กฎหมายการป้องกันอัคคีภัยตามกฎกระทรวงฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
 
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีการกำหนดมาตราฐานขั้นต่ำของอาคารในด้านโครงสร้างและการทนไฟให้ได้มาตราฐานอยู่ว่าอาคารใดบ้างที่ควรมีคุณสมบัติและโครงสร้างในการทนไฟเป็นอย่างไร โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าวได้ดังนี้
 
ตามกฎกระทรวงดังกล่าวแล้วกำหนดให้อาคารดังต่อไปนี้ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงในด้านการป้องกันอัคคีภัยขั้นต่ำไว้ดังนี้
 
1. อาคารสำหรับใช้เป็นคลังสินค้า โรงมหรสพ โรงแรม อาคารชุด หรือสถานพยาบาล
2. อาคารเพื่อกิจการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข สำนักงานหรือที่ทำการที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไปและมีพื้นที่รวมทุกชั้นในหลังเดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร
3. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษหรืออาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นหอประชุม

คุณสมบัติขั้นต่ำที่กฎกระทรวงกำหนดให้อาคารดังที่กล่าวมาข้างต้นต้องปฏิบัติตาม
 
1.กรณีโครงสร้างหลักก่อสร้างด้วยคอนกรีต เสริมเหล็ก หรือคอนกรีตอัดแรงที่มีคอนกรีตหุ้มหนาน้อยกว่าที่กำหนด(ตามชนิดของการก่อสร้างและโครงสร้างหลัก) จะต้องติดตั้งวัสดุป้องกันโครงสร้างจากไฟให้เสาหรือคานมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ส่วนตงหรือพื้นมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง โดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต
 
2. กรณีโครงสร้างหลักก่อสร้างด้วยเหล็กรูปพรรณที่ไม่ได้ใช้คอนกรีตหุ้ม จะต้องติดตั้งวัสดุป้องกันโครงสร้างจากไฟให้เสาหรือคานมีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงโดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต

3. โครงหลังคาที่ก่อสร้างด้วยเหล็กรูปพรรณที่ไม่ได้ใช้คอนกรีตหุ้ม หากเป็นอาคารชั้นเดียวโครงหลังคาจะต้องติดตั้งวัสดุป้องกันโครงสร้างจากไฟให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และหากเป็นอาคารตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป โครงหลังคาจะต้องติดตั้งวัสดุป้องกันโครงสร้างจากไฟให้มีอัตราการทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงโดยจะต้องมีเอกสารรับรองอัตราทนไฟจากสถาบันที่เชื่อถือได้ประกอบการขออนุญาต

4. วิธีการทดสอบอัตราทนไฟ ให้เป็นไปตามมาตราฐาน ASTM E119 หรือ ISO 834

5.ข้อยกเว้นให้อาคารทั้งสามประเภทตามที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ต้องมีอัตราการทนไฟตามที่กำหนดในวรรคห้าก็ได้
 
5.1 โครงหลังคาอาคารที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เว้นแต่โรงมหรสพ สถานพยาบาล หรือหอประชุม ต้องติดตั้งวัสดุป้องกันโครงสร้างหลักจากไฟทุกขนาดพื้นที่
 
5.2 โครงหลังคาอาคารที่สูงจากพื้นอาคารเกิน 8เมตร และมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ หรือมีการป้องกันความร้อน หรือระบายความร้อนไม่ให้เกิดอันตรายต่อโครงหลังคา
 
นอกคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นตามกฎกระทรวงดังกล่าวยังได้กำหนดรายละเอียดความหนาน้อยสุดของคอนกรีตที่หุ้มเหล็กเสริมหรือคอนกรีตหุ้มเหล็กตามชนิดของการก่อสร้างและโครงสร้างหลักโดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากกฎกระทรวงดังกล่าวได้
 
ที่มา : https://www.lawyers.in.th/2021/04/15